Mon-Sat: 08:00 - 17:30

24h Emergency Service

ติดต่อจองคิว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Call Today 02-102-0513

ย่าน บางนา บางพลี

เกร็ดความรู้ หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

เกร็ดความรู้ หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

ก่อน อื่นต้องขอทำความเข้าใจกันก่อนว่า การปรับอากาศ ความหมายคือ ปรับให้อากาศเย็นหรือร้อนก็ได้ ถ้าพูดถึงปรับอากาศให้เย็น เราจะนึกถึงคำว่าแอร์นั่นเอง ในที่นี้เราจะพูดคุยกันอย่างง่ายๆ ถามว่าแอร์เกี่ยวกับความร้อนหรือไม่ เกี่ยวแน่นอน เพราะแอร์เป็นตัวนำความร้อนจากภายในห้อง ออกไปทิ้งข้างนอก ทิ้งอย่างไรมันมีขบวนการของมันโดยใช้เครื่องมือ 4 ตัว คือ
1. EVAPPORATOR
2. COMPRESSOR
3. CONDENSER
4. CAPILLARY TUBE
EVAPPORATOR คือ เครื่องระเหย หรือที่ช่างแอร์เรียกว่า คอล์ยเย็น การทำงานของมันคือ ดูดความร้อนจากภายในห้อง โดยมีมอเตอร์พัดลมเป็นตัวดูดเข้ามา ผ่านช่องที่เรียกว่า RetumAir ซึ่งมี Filter เป็น ตัวกรองฝุ่นให้ก่อน แล้วความร้อนที่ถูกดูดเข้ามานั้น จะมาสัมผัสกับคอล์ยเย็นซึ่งมีนำยาแอร์(ของเหลว) ซึ่งอุณหภูมิติดลบ วิ่งอยู่ในท่อนั้น จะเกิดการระเหยเป็นไอ(แรงดันต่ำ)
COMPRESSOR คือ เครื่องอัดไอ การทำงานหรือหน้าที่ของมันคือ ดูดไอ(แรงดันตำ) ซึ่งเกิดจากการระเหยภายในคอล์ยเย็น ทำการอัดให้เป็นไอ(แรงดันสูง) อุณหภูมิสูง เพื่อส่งไประบายความร้อนต่อไป
CONDENSER คือเครื่องควบแน่น หรือช่างแอร์เรียกว่า คอล์ยร้อน หน้าที่ของมันคือรับไอร้อนที่ถูก COMPRESSOR อัด จนร้อนและมีอุณหภูมิสูง เข้ามาในแผงพื้นที่ของมัน จากไอที่มีอุณหภูมิสูง เมื่อมาเจอกับอากาศภายในห้อง ซึ่งมีอุณหภูมิตำกว่า ความร้อนจึงถูกถ่ายเทออกไปได้โดยไอร้อนนั้น จะควบแน่นกลายเป็นของเหลว(แรงดันสูง-อุณหภูมิสูง)แต่มีมอเตอร์พัดลมเป็นตัว ช่วยระบายความร้อนออกไปให้เร็วขึ้น เมื่อเป็นของเหลวแล้วก็สามารถกลับมารับความร้อนภายในห้องได้อีก แต่ของเหลวนั้นยังมีอุณหภูมิสูงอยู่ จึงต้องทำให้อุณหภูมินั้นลดลงก่อน
CAPILLARY TUBE คือ ท่อลดแรงดันหรือท่อรูเข็ม ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเล็กมาก ช่างแอร์จะเรียกว่า แค๊ปทิ้ว หน้าที่ของมันคือลดแรงดันของน้ำยาแอร์(ของเหลว)จากที่ถูกระบายความร้อนแล้ว ยังมีอุณหภูมิสูง-แรงดันสูง เมื่อมาเจอท่อรูเข็ม ทำให้ของเหลวอั้น ผ่านได้น้อย ทำให้ของเหลวนั้น มีอุณหภูมิลดลง และแรงดันลดลง น้ำยาแอร์(ของเหลว)และไหลพอดีเหมาะสมกับพื้นที่ของคอล์ยเย็ย เพื่อที่จะมารับความร้อน ในห้องได้อีกครั้ง
หลังจากได้ทราบถึงวงจรการทำงานของเครื่องปรับอากาศแล้ว เราจะมาศึกษาถึงที่มาที่ไปบ้าง
ระบบการทำความเย็นที่เรากำลังกล่าวถึงคือระบบอัดไอ (Vapor-Compression Cycle) ซึ่งมีหลักการทำงานง่ายๆคือ การทำให้สารทำความเย็น (น้ำยา) ไหลวนไปตามระบบ โดยผ่านส่วนประกอบหลักทั้ง 4 อย่างต่อเนื่องเป็น วัฏจักรการทำความเย็น (Refrigeration Cycle) โดยมีกระบวนการดังนี้
1) เริ่มต้นโดยคอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็นเพื่อเพิ่มความดัน และอุณหภูมิของน้ำยา แล้วส่งต่อเข้าคอยล์ร้อน
2) น้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์ร้อนโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยระบายความร้อน ทำให้น้ำยาจะที่ออกจากคอยล์ร้อนมีอุณหภูมิลดลง (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งต่อให้อุปกรณ์ลดความดัน
3) น้ำยาที่ไหลผ่านอุปกรณ์ลดความดันจะมีความดันและอุณหภูมิที่ต่ำมาก แล้วไหลเข้าสู่คอยล์เย็น (หรือที่นิยมเรียกกันว่า การฉีดน้ำยา)
4) จากนั้นน้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์เย็นโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยดูดซับความร้อน จากภายในห้อง เพื่อทำให้อุณหภูมิห้องลดลง ซึ่งทำให้น้ำยาที่ออกจากคอยล์เย็นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งกลับเข้าคอมเพรสเซอร์เพื่อทำการหมุนเวียนน้ำยาต่อไป

หลังจากที่เรารู้การทำงานของวัฏจักรการทำความเย็นแล้วก็พอจะสรุปง่ายๆได้ดังนี้
1) สารทำความเย็นหรือน้ำยา ทำหน้าที่เป็นตัวกลางดูดเอาความร้อนภายในห้อง (Indoor) ออกมานอกห้อง (Outdoor) จากนั้นน้ำยาจะถูกทำให้เย็นอีกครั้งแล้วส่งกลับเข้าห้องเพื่อดูดซับความร้อน อีก โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดการทำงานของคอมเพรสเซอร์
2) คอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวในระบบที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนน้ำยาผ่าน ส่วนประกอบหลัก คือคอยล์ร้อน อุปกรณ์ลดความดัน และคอยล์เย็น โดยจะเริ่มทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในห้องสูงเกินอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ และจะหยุดทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในห้องต่ำกว่าอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ ดังนั้นคอมเพรสเซอร์จะเริ่ม และหยุดทำงานอยู่ตลอดเวลาเป็นระยะๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิห้องให้สม่ำเสมอตามที่เราต้องการ
คำว่า BTU ที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศ เป็นหน่วยความร้อน ย่อมาจาก BRITISH THERMAL UNIT
ส่วนใหญ่แอร์ 1ตัน ประมาณ 12000 BTU ถ้าตันครึ่งหมายถึง 18000 BTU เป็นต้น

มาดูต่อเรื่อง Compressor เราจะพูดถึงแต่Com. ที่ใช้กับแอร์บ้าน เรียงลำดับตามประสิทธิภาพ
1. แบบลูกสูบ ประสิทธิภาพดีที่สุด ข้อเสีย เสียงดัง กินไฟ
2.แบบสกรอล ประสิทธิภาพ รองลงมา แต่ทนกว่า กินไฟปานกลาง มีตั้งแต่ 18000 BTU ขึ้นไป
3.แบบโรตารี่ ประสิทธิภาพ กินไฟน้อย เสียงเงียบ ราคาถูก ขนาดใหญ่สุดมีแค่ 36000 BTU

การทำงานของแอร์บ้าน จะเป็นการระบายความร้อนทางตรง หรือระบายความร้อนด้วยอากาศ คือน้ำยาแลกเปลี่ยนความร้อน กับอากาศ โดยตรง คนทั่วไปหรือผู้ใช้งานแอร์ มีคำถามว่า เมื่อใหร่ถึงควรจะเติมน้ำยาแอร์ คำตอบคือ เมื่อเปิดแอร์แล้ว แอร์ไม่มีความเย็นออกมา ซึ่งอาจจะเกิดจากหลายๆสาเหตุ เช่น ระบบท่อน้ำยาแอร์ รั่ว ซึม น้ำยาในระบบพร่อง ไม่มีเพียงพอ เนื่องจากการใช้งานมาเป็นเวลานาน อาจจะทำให้เครื่องน็อคได้ การตรวจเช็คน้ำยาแอร์นั้น ควรเรียกช่างแอร์ ที่มีความชำนาญงาน มาทำการตรวจสอบ เพราะต้องใช้เครื่องมือ สำหรับวัดแรงดันน้ำยาแอร์ในระบบ

สารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ
น้ำยาแอร์ หรือสารทำความเย็น (Refrigerant) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับระบบเครื่องทำความเย็น และระบบเครื่องปรับอากาศ โดยที่สารทำความเย็นจะเปรียบเสมือนตัวกลางสำหรับถ่ายเทความร้อนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง สารทำความเย็นในระบบเครื่องปรับอากาศ รวมไปถึงสารทำความเย็นในเครื่องทำความเย็นทั่วๆ ไปจะมีแรงดันมากกว่าแรงดันบรรยากาศหลายเท่า เมื่อรั่วออกมาจะเดือดและระเหยเป็นไอทันที ทำให้ต้องอยู่ในระบบปิดหรือถังบรรจุที่ปิดผนึกมิดชิด อีกทั้งมันยังเป็นสสารที่สามารถอยู่ได้ทั้งในรูปของแก๊สและของเหลว ขึ้นกับความดันและอุณหภูมิ

แรงดันของสารทำความเย็นในระบบโดยประมาณ
การจะตรวจสอบปริมาณสารทำความเย็นในภายหลัง ว่ายังคงมีสารทำความเย็นอยู่เพียงพอหรือไม่ มีอยู่ด้วยกันหลายวิธีแต่วิธีที่ให้ค่าออกมาแน่นอนและนิยมทำกันมากสุดคือการต่อเกจเมนิโฟลด์ เพื่อวัดค่าแรงดันของสารทำความเย็นในระบบ ซึ่งทั่วไปแล้วถ้าเป็นการวัดเพื่อตรวจสอบปริมาณสารทำความเย็น จะวัดแค่เพียงที่วาล์วลูกศรด้านท่อทางดูด(ท่อใหญ่) ซึ่งท่อนี้จะเป็นท่อของสารทำความเย็นที่อยู่ในสถานะแก๊ส และเป็นท่อด้านที่มีแรงดันต่ำขณะเดินเครื่อง ส่วนท่ออีกด้านหนึ่งจะเป็นท่อทางอัด(ท่อเล็ก) มีสารทำความเย็นที่เป็นของเหลวแรงดันสูงมากไหลอยู่ เราจึงไม่สามารถต่อเกจเมนิโฟลด์เข้าไปในขนะที่เครืองทำงานอยู่ได้ เพราะแรงดันที่สูงอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้ ในกรณีแอร์ขนาดไม่ใหญ่มากท่อด้านนี้จึงไม่ค่อยจะได้ต่อใช้งานสักเท่าไหร่ ผู้ผลิตจึงเลือกที่จะไม่ใส่วาล์วลูกศรให้กับท่อทางอัด ของแอร์ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนั่นเอง

น้ำยา R22 ขณะเครื่องทำงาน 68 – 75 PISG(เช็คกระแสไฟเป็นหลัก)
น้ำยา R410 ขณะเครื่องทำงาน 130 – 160 PISG(เช็คกระแสไฟเป็นหลัก)
น้ำยา R32 ขณะเครื่องทำงาน 150 – 180 PISG(เช็คกระแสไฟเป็นหลัก)

*ค่าแรงดันเองในบางครั้งก็อาจจะมีการคาดเคลื่อนอยู่บ้างปัจจัยที่ทำให้ค่าแรงดันที่วัดได้มีความคลาดเคลื่อนก็มีอยู่หลายๆปัจจัย เช่น
– อุณหภูมิแวดล้อมบริเวณที่ติดตั้งคอยล์ร้อน อุณหภูมิสูง = แรงดันสูง , อุณหภูมิต่ำ= แรงดันต่ำ
– แรงดันสูงเพราะคอยล์ร้อนสกปรกลมไม่สามารถผ่านได้เท่าทีควร
– แรงดันสูงเพราะพัดลมของชุด คอยล์ร้อนมีรอบความเร็วที่ลดลงจากเดิม

น้ำยาแอร์ขาด…เป็นไปได้หรือไม่
เมื่อมีใครตั้งประเด็นที่เกี่ยวกับช่างมาเติมน้ำยาแอร์ แล้วบอกว่า “ระบบแอร์เป็นระบบปิด ถ้าน้ำยารั่ว ไม่ว่ารอยรั่วจะเล็กหรือใหญ่ น้ำยาจะหายไปทันที จนหมดทั้งระบบ หรือน้ำยาแอร์ ไม่มีวันหมด เพราะเป็นระบบใช้หมุนเวียน” กรณีที่น้ำยาแอร์ขาดหายไป จากระบบแต่ไม่ได้รั่วออกหมด เช่น ขาดหายไปจนแรงดันลดลงกว่าค่ามาตรฐาน 20-30 PSIG สามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่ว่ามันจะเกิดขึ้นไม่ได้ ซึ่งจุดนี้ต้องทำความเข้าใจ ให้ดีก่อนที่จะเชื่ออะไรไป เนื่องจากสารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ ที่อยู่ภายในระบบนั้น มีแรงดันสูง กว่าค่าแรงดันบรรยากาศ หลายเท่า ทำให้มันพยายาม ที่จะหาทางออก เพื่อเล็ดลอดออกไปจากระบบ ตลอดเวลา และระบบท่อ ของเครื่องปรับอากาศในปัจจุบัน จุดต่อระหว่างท่อที่เชื่อมต่อกันระหว่างส่วน คอยล์ร้อน ไปยังส่วน คอยล์เย็น ก็ใช้การบานปลายท่อ แล้วสวมด้วย ข้อต่อแฟร์นัทขันเกลียว ไม่ได้เป็นการเชื่อม บัคกรีท่อโลหะ ให้ติดกันด้วยความร้อน เหมือนจุดต่อในส่วนอื่นๆ และรวมถึงจุดที่ท่อบริการ (Service Valve) ตรงบริเวณด้านท่อทางอัด(ท่อใหญ่) ก็มีการติดตั้งจุดที่เรียกว่า วาล์วบริการสำหรับใ ช้ต่อสายเกจ ส่วนนี้จะใช้วาล์วลูกศรใส่เข้าไป โดยที่วาล์วลูกศร ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับ จุกลมของยางล้อรถนั่นเอง ในวาล์วลูกศรนี้ ก็จะมีซีลยางที่เรียกว่ายางโอริงอยู่ และเมื่อยางโอริงนี้ต้องมาเป็นส่วนหนึ่งของระบบแอร์ ทำให้มันต้องพบเจอกับสภาวะที่เย็นจัดในขณะเดินเครื่อง เมื่อใช้ไปนานๆยางโอริงก็อาจจะมีการเสื่อมสภาพลงไปตามการใช้งาน บางครั้ง ที่เราไม่ได้ใช้งานแอร์นานๆ ด้านท่อทางดูด ที่ยางโอริงอยู่จะไม่มีแรงดันต่ำ เหมือนตอนเครื่องเดิน แต่แรงดันจะเท่ากันทั้งสองท่อ ซึ่งเมื่อสภาพเหมาะสม ก็ทำให้แรงดันเล็ดรอดออกไปได้ รวมไปถึงในบางครั้งที่แอร์ ไม่ได้ล้างมานาน แผงคอยล์ร้อน สกปรกมาก แอร์ระบายความร้อน ได้ไม่ดีในช่วงที่อากาศร้อนๆ ส่งผลให้แรงดันสูงเกินไป จนในบางครั้ง ก็อาจทำให้น้ำยาเล็ดลอดออกไป ตามจุดต่อต่างๆหรือที่ยางโอริ่ง ก็เป็นไปได้ และยังรวมไปถึง ในส่วนของรอยเชื่อม แต่ละจุดเอง ก็เป็นอีกสาเหตุ ของการซึมออกไปทีละน้อยๆ เพราะในรอยเชื่อมบางจุด อาจจะเกิดรูพรุน หรือโพรงขนาดเล็กมากๆ ที่เรียกกันว่ารู ตามด จุดนี้ก็มีส่วนที่ ทำให้น้ำยาซึม หายไปจากระบบได้เอง เมื่อสภาพโดยรวม เอื้ออำนวย การรั่วกับการซึม ไม่เหมือนกันการรั่ว คือรั่วออกไปอย่าง ต่อเนื่องจนหมด แต่การซึมคือ การเล็ดลอดออกไปทีละนิดเมื่อสภาพ โดยรอบนั้นเอื้ออำนวย สามารถเกิดขึ้นไ ด้จากหลายๆปัจจัย เพราะน้ำยาแอร์ เองก็เป็นสสารที่อยู่ ภายใต้ความกดดันสูง ย่อมที่จะหาหนทางออกมา สู่บรรยากาศได้ตลอดเวลา แต่ก็ใช่ว่าน้ำยาแอร์ จะต้องซึมหายออก จากระบบเสมอไป มีแอร์หลายๆเครื่อง ที่มีน้ำยาเต็มระบบ ไม่ต้องเติมเพิ่มเลยตลอด อายุการใช้งานทั้งนี้ขึ้นอยู่ กับคุณภาพและรูปแบบการติดตั้ง รวมไปถึงลักษณะการใช้งาน การบำรุงรักษาด้วย ดังนั้น ช่างแอร์ของมีความชำนาญการ ในการวัดค่าแรงดันของน้ำยาแอร์ หากท่านพบปัญหาแอร์ไม่เย็น หรือเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับ น้ำยาแอร์ สามารถปรึกษา หรือเรียกใช้บริการ ทีมงานช่างแอร์ ของเราได้

แอร์รั่ว แอร์ไม่เย็น เราสารถสังเกตุได้จากอาการ เปิดแอร์แล้วไม่เย็น โดยการที่เราไปยืนที่หน้าแอร์คอยล์เย็น แล้วไม่มีลมเย็นออกมาเลย หรือหากมีลมเย็นก็ไม่เย็นเท่าที่ควร และหากเราออกไปดูคอมเพรสเซอร์ ที่ติดตั้งด้านนอกนั้น ยังทำงานอย่างปกติ หากพบเจอเหตุการณ์แบบนี้ ท่านควรรีบปิดแอร์ แล้วเรียกช่างที่ ชำนาญการ ซ่อมแอร์ มาทำการตรวจอบปัญหาดังกล่าว หากพบปัญหาแอร์รั่ว ปล่อยไว้นานๆ อาจจะเกิดปัญหาหาลามไปที่ คอมเพรสเซอร์ ทำให้คอมเพรสเซอร์เสียได้ เนื่องจากการทำงานของวงจรน้ำยาแอร์ ไม่เต็มระบบ วิธีการทำงานของช่างแอร์ กรณีแอร์รั่ว แอร์ไม่เย็น ช่างแอร์จะตรวจสอบหาจุดรั่วซึมของน้ำยาแอร์ ทั้งที่คอยล์เย็น คอยล์ร้อน ตามท่อน้ำยแอร์ ข้อต่อท่อ จุดเชื่อมต่อท่อ หัวแฟร์ อื่นๆ หากพบจุดรั่วซึมแล้ว ช่างซ่อมแอร์จะแจ้งให้ลูกค้าทราบ ถึงสาเหตุการรั่วซึมของน้ำยาแอร์ หลังจากนั้น ช่างแอร์จะทำการ ซ่อมแอร์ เชื่อม อุด รอยรั่วซึมของแอร์ เมื่อทำการ ซ่อมจุดรั่วซึมของแอร์แล้ว ช่างแอร์จะทำการล้างท่อระบบทำความเย็น ของแอร์ และทำการตรวจสอบหัววาล์ว ข้อเกลียวต่างๆ แล้วขันให้แน่น ช่างแอร์ จะทำการแว็คคัมเพื่อที่จะไล่อากาศในระบบท่อทำความเย็น ประมาณ 30 นาที จากนั้นหากไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ ช่างแอร์ จะทำการเติมน้ำยาแอร์ เข้าสู่ระบบ แล้วทำการตรวจสอบจุดรั่วซึมอีกรอบ และทำการแจ้งให้ลูกค้าทราบ แล้วทำการเก็บงานปิดงาน แจ้งลูกค้าตรวจสอบความเรียบร้อย

แอร์ มีแต่ ลม อาการแบบนี้สำหรับ ช่างแอร์ เคหะบางพลี อย่างเราบอกได้เลยว่าเป็นอีกหนึ่งของอาการผิดปกติของแอร์บ้านที่สามารถพบได้บ่อย และเป็นอาการยอดนิยม
แอร์ มีแต่ ลม 4 สาเหตุหลัก พร้อมวิธีแก้ไขเบื้องต้น
1.รีโมทแแอร์บ้าน – แอร์บ้านไม่เย็นมีแต่ลม
อันนี้บ่อยมาก ช่างแอร์อย่างเราไปตรวจสอบแอร์ให้ลูกค้าที่แอร์บ้านมีแต่ลมไม่มีความเย็นออกมา เมื่อถึงหน้างานบ้านลูกค้าก็ต้องตรวจสอบรีโมทแอร์บ้านกันก่อนเลย และมีหลายท่านที่แอร์บ้านมีแต่ลมไม่มีความเย็นซึ่งเกิดมาจากเผลอไปกดรีโมทที่โหมด FAN แทนที่จะเป็นโหมด COOL (ถ้าเปลี่ยนโหมดแล้วไม่หายลองเอาเบรกเกอร์แอรลง แล้วก็เอาถ่านในรีโมทออก แล้วใส่กลับเข้าไปใหม่ แล้วยกเบรกเกอร์ขึ้น พร้อมเปิดแอร์บ้าน แล้วเลือกโหมดCOOL แต่ถ้ายังไม่เย็นก็อ่านข้อต่อไป)อันนี้ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่แอร์บ้านมีแต่ลมแล้วไม่เย็น แต่ถ้าช่างแอร์เราตรวจสอบรีโหมดแอร์ที่บ้านท่านแล้วว่าอยู่โหมด COOL แต่ยังไม่เย็นก็ต้องดูที่สาเหตุอื่นต่อไป นั่นคือ “คอมเพรสเซอร์แอร์”
2.คอมเพรสเซอร์แอร์บ้านไม่ทำงาน- แอร์บ้านไม่เย็นมีแต่ลม
คอมเพรสเซอร์แอร์บ้าน ก็เปรียบคล้ายกับหัวใจนั่นน่ะแหละครับ ถ้าหัวใจทำงานดีเลือดลมก็เดินดี แต่ถ้าไม่ดีเลือดลมก็ไม่ค่อยเดิน ฉันใดฉันนั้น คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงานความเย็นจะมาได้อย่างไร ต้องปีนป่ายออกไปดูว่าคอมเพรสเซอร์ของบ้านท่านลูกค้าทำงานหรือไม่ ถ้าไม่ก็ต้องตรวจสอบว่าทำไมมันไม่ทำงาน แต่ถ้าคอมเพรสเซอร์แอร์บ้านของท่านทำงาน ก็ต้องไปดูสาเหตุอื่นอีกว่าทำไมแอร์บ้านถึงมีแต่ลมไม่มีความเย็น เพราะถ้าคอมเพรสเซอร์แอร์บ้านทำงานแต่แอร์บ้านไม่มีความเย็นออกมานั่นอาจจะหมายถึงว่าแอร์บ้านของท่านอาจจะรั่ว(อีกสาเหตุนึงที่คอมเพรสเซอร์แอร์บ้านทำงาน แต่ไม่รั่ว และแอร์บ้านก็ไม่เย็น นั่นอาจจะมาจากอาการที่ระบบทำความเย็นมีอากาศเข้าไปผสม แต่ถ้าเป็นแบบนี้ แอร์บ้านจะมีลมเย็นออกมา แต่ไม่ฉ่ำ เย็นแบบจืดๆ)
การที่คอมเพรสเซอร์แอร์บ้านไม่ทำงานอาจจะมาจากการเสียด้วย2สาเหตุใหญ่ๆ
– ตัวสตารทคอมพัง
– ตัวคอมเพรสเซอร์แอร์บ้านพัง
3.น้ำยาแอร์บ้านน้อยหรือไม่มี – แอร์บ้านไม่เย็นมีแต่ลม
สาเหตุนี้ท่านลูกค้าไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง(นอกจากมีอุปกรณ์ตรวจวัด) ต้องให้ช่างแอร์อย่างเรามาตรวจสอบให้ และเป็นสาเหตุที่ช่างแอร์บ้านอย่างเราไม่ค่อยอยากเจอนะครับ ไม่ใช่เพราะซ่อมยาก แต่กลัวท่านลูกค้าจะตำหนิเอาว่า อะไรๆก็น้ำยาแอร์หมด อะไรๆก็แอร์รั่ว จะหลอกเติมน้ำยาอีกแล้ว ซึ่งเมื่อมันไม่มีน้ำยาแอร์ที่มีไว้เพื่อทำความเย็นแอร์มันก็ไม่มีความเย็นมีแต่ลมนะครับ แต่มีวิธีสังเกตุน้ำยารั่วครับ
4.แอร์บ้านสกปรก – แอร์บ้านไม่เย็นมีแต่ลม
สาเหตุนี้ก็อมตะครับช่างแอร์อย่างเราก็พบบ่อยครับ ถ้าเป็นอย่างนี้แก้ง่ายแค่ล้างก็หายแล้วครับ แต่อาการอย่างนี้ต้องสังเกตุนะครับว่า ลมที่ออกมาจากตัวแอร์เนี่ยมันจะไม่ค่อยแรงนะ

error: Content is protected !!